วัคซีน BCG แผลเป็น ปลูกฝี ฝีดาษ

วัคซีน BCG การปลูกฝีกับรอยแผลเป็นที่หัวไหล่ป้องกันโรคฝีดาษลิง

ภายหลังจากโรคฝีดาษลิงระบาดแล้ว มีคำถามที่ตามมาว่าต้องป้องกันตัวอย่างไร และเมื่อได้ยินคำว่า ฝี ทำให้หลายๆ คนนึกถึงการปลูกฝีป้องกันที่เป็นรอยแผลเป็นบนไหล่มาแล้วจะใช่ตัวเดียวกันกับ วัคซีนป้องกันวัณโรคสำหรับเด็กทารก (วัคซีน BCG) หรือไม่ ความเชื่อนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไรแน่ แล้วการปลูกฝีดาษนั้นจะช่วยป้องกันโรคฝีดาษลิงได้จริงหรือไม่ เรื่องนี้มีคำตอบ

การปลูกฝีคืออะไร

การปลูกฝีคืออะไร

การปลูกฝีในยุคก่อนนั้นเกิดขึ้นจากการระบาดของ โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยเป็นการปลูกฝีแบบนำเชื้อไวรัสเข้าไปยังหนองฝีแล้วจึงปล่อยเชื้อให้เจริญเติบโตจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ จนกลายเป็นวิธีป้องกันการป่วยไข้ทรพิษได้ในยุคนั้น จนกระทั่งการปลูกฝีให้กับเด็กทารกเพื่อป้องกันโรคฝีดาษได้สิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ.2517

ภายหลังจากนั้นพ้นไป 3 ปี ใน พ.ศ.2523 องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประกาศให้โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ เป็นที่ยุติลง เนื่องจากการปลูกฝีในเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีจำนวนมากจนสามารถควบคุมโรคดังกล่าวได้แล้ว ทำให้เด็กในยุคนั้นที่เติบโตมาจนเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้แล้ว ส่วนใหญ่จึงมีรอยแผลเป็นที่แขนหรือไหล่ซ้ายที่เกิดจากการปลูกฝีจริง โดยสามารถพิสูจน์เบื้องต้นได้ ดังนี้

วิธีสังเกตผู้ที่เคยปลูกฝีดาษป้องกันโรค

  • ผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ.2517 มีความเป็นไปได้ว่าปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคสูง
  • ผู้ที่เกิดหลัง พ.ศ.2523 มีความเป็นไปได้ว่าไม่ได้ลูกฝี เนื่องจากโรคฝีดาษจบการระบาดแล้ว

มีรอยวัคซีน BCG ต้องเกิดช่วงปีไหน

ผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2517-2523 เป็นช่วงที่ก้ำกึ่งว่าเป็นรอยวัคซีน BCG หรือจะรอยปลูกฝีทารก กันแน่ แต่มีวิธีสังเกตเบื้องต้นง่ายๆ คือ หากเป็นรอยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ แผลจะมีลักษณะแบนเรียบ แต่หากเป็นรอยฉีดวัคซีน BCG แผลจะมีลักษณะนูนขึ้น

วัคซีน BCG คืออะไร

วัคซีน BCG คืออะไร

เชื่อว่าคนไทยส่วนมากจะต้องมีรอยแผลเป็นเล็กๆ ที่หัวไหล่ฝั่งซ้าย โดยอาจได้ยินมาจากผู้ใหญ่หรือคนในบ้านว่านี่เป็นรอยปลูกฝีในวัยแรกเกิด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกลับไม่ใช่ แต่นี่เป็นรอยจากการฉีดวัคซีน BCG (Bacillus Calmette-Guerin) หรือวัคซีนป้องกันวัณโรคในเด็กทารก โดยวัคซีนตัวนี้จะเข้าไปทำให้เชื้อโรคอ่อนแอลง กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ทำงานและรับมือกับเชื้อวัณโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย เพราะในเด็กแรกเกิดจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำมาก หากเกิดสิ่งแทรกซ้อนอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้

สำหรับ เชื้อไวรัสวัณโรค นั้นจะเข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมองอักเสบของเด็ก ทำให้มีอาการเป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการฉีดวัคซีน BCG เพื่อเป็นพื้นฐานป้องกันสำหรับเด็กแรกเกิด เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคและการเสียชีวิตได้

ปลูกฝีดาษแล้วช่วยให้ป้องกันโรคฝีดาษลิงได้จริงไหม

ปลูกฝีดาษแล้วช่วยให้ป้องกันโรคฝีดาษลิงได้จริงไหม

ถือว่าเป็นคำถามยอดฮิตท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคฝีดาษลิง ในตอนนี้ ว่าการปลูกฝีนั้นเชื่อมโยงกับโรคฝีดาษลิงหรือไม่ และหากปลูกฝีจะช่วยป้องกันโรคฝีดาษลิงได้จริงไหม ประเด็นนี้มีคำตอบที่ชัดเจนจาก อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ที่ได้ระบุไว้ว่า วัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ฝีดาษคน ที่เคยฉีดกันมาก่อนแล้วนั้น สามารถป้องการโรคฝีดาษลิงได้มากถึง 85% แต่มีเงื่อนไขว่าระบบภูมิคุ้มกันจะต้องดีอยู่ และปัจจุบันยังคงมีการผลิตวัคซีนไข้ทรพิษเพื่อใช้งานอยู่แม้โรคนี้จะผ่านมาแล้วกว่า 40 ปี ก็ตาม ดังนั้นใครที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนดังกล่าว สามารถรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ในระดับหนึ่ง

ข้อสรุปจากวัคซีน BCG และการปลูกฝีดาษ

ผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ.2523 ส่วนมากจะได้รับการปลูกฝีดาษ เพราะเป็นการป้องกันฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ และผู้ที่เกิดหลังจากช่วงดังกล่าวจะได้รับวัคซีน BCG วัคซีนที่ใช้สำหรับฉีดให้เด็กทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันวัณโรคในเด็ก โดยวัคซีนดังกล่าวนี้ทำให้เกิดรอยแผลเป็นบริเวณที่ฉีด คือ หัวไหล่ซ้าย แต่คนส่วนใหญ่มักเรียกรอยนี้ว่าเป็นการปลูกฝี ในส่วนของโรคฝีดาษลิงนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนไข้ทรพิษ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ 85% และจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงควบคู่กันด้วย

อย่างไรก็ตาม โรคฝีดาษลิง ไม่ใช่ที่ติดต่อกันได้ง่ายเหมือนกับเชื้อไวรัส โคโรน่า ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นอย่าเพิ่งตื่นตระหนกและหวาดกลัวจนเกินไป เพียงหมั่นดูแลรักษาสุขภาพ รักษาความสะอาด และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่เข้าข่ายอาจเกิดการติดเชื้อจากฝีดาษลิงได้ ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ

วัคซีน BCG การปลูกฝีกับรอยแผลเป็นที่หัวไหล่ป้องกันโรคฝีดาษลิง Read More »