LGBTQ เพศทางเลือก รสนิยม สิทธิ

LGBTQ เพศทางเลือก รสนิยม สิทธิ ที่สังคมควรให้ความเคารพสนับสนุนอย่างเท่าเทียม

ในมิถุนายนของทุกปี กลายเป็นเดือนที่รู้จักกันในชื่อ “Pride Month” เต็มไปด้วยความคึกคัก สีสัน การเดินขบวนรณรงค์ในการเรียกร้องให้ยอมรับในความเท่าเทียมทางเพศ ตลอดจนกิจกรรมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในทุกๆ เรื่อง การล้อเลียน เหยียดหยาม ถูกตีตราให้เป็นตัวตลกในสังคม ถูกยัดเยียดสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นในสังคมมาโดยตลอดโดยที่พวกเขาไม่ได้ต้องการ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วสังคมจะมีทางออกได้อย่างไร

LGBTQ คืออะไร

LGBTQ คืออะไร

LGBTQ เป็นอักษรย่อของการเรียก หรือกล่าวถึงความหลากหลายทางเพศ อาจเป็นได้ทั้งรสนิยม หรือกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะรักร่วมเพศเดียวกัน หรือต่างเพศสภาพ เป็นความหลากหลายทางเพศแบบหนึ่งที่มีการรณรงค์เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ทั้งสิทธิ เสรีภาพ การแสดงออก ได้เหมือนกับคนทั่วไป ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมี โดยไม่ว่าใครจะเป็นแบบใด หรือชื่นชอบแบบไหน สังคมควรที่จะให้การเคารพสิทธิของคนกลุ่มนี้ด้วย

ปัจจุบันกลุ่ม LGBTQ มีประชากรจำนวนมากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติไหน นับถือศาสนาดา การแสดงออกถึงความเป็นตัวตนที่แท้จริงของตัวเองต้องไม่ถูกปิดกั้น แม้เพศสภาพที่พวกเขาเป็นอยู่จะไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการก็ตาม ดังนั้นสังคมควรรับฟัง เปิดความเห็นโดยไม่ปิดกั้น เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการ เพียงแค่ความเท่าเทียมในสังคม การไม่ถูกสังคมรังแก บูลลี่ ล้อเลียน แบบเช่นอดีตที่ผ่านมาที่สังคมมักมองกันว่าเป็นตัวตลก ผิดเพศ หรือจิตไม่ปกติ ฯลฯ

อักษรย่อของ LGBTQ

  • L หรือ Lesbian (เลสเบี้ยน) กลุ่มเพศหญิงที่รักผู้หญิง
  • G หรือ Gay (เกย์) กลุ่มเพศชายที่รักผู้ชาย
  • B หรือ Bisexual (ไบเซ็กชวล) กลุ่มเพศชายหรือหญิงที่มีความรักในเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้ามก็ได้
  • T หรือ Transgender (ทรานส์เจนเดอร์) กลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงเพศสภาพของตนเป็นเพศตรงข้ามแล้ว
  • Q หรือ Queer (เควียร์) กลุ่มคนที่ไม่จำกัดตนเองเป็นเพศใด และไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ

ความหลากหลายทางเพศ เป็นโรคและความผิดปกติจริงหรือ

ความหลากหลายทางเพศ เป็นโรคและความผิดปกติจริงหรือ

ในอดีตคนในสังคมมักมองว่า การรักเพศเดียวกัน ชอบคนเพศเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นชายรักชาย หญิงรักหญิง เป็นเรื่องประหลาด สิ่งผิดปกติ และไม่เกิดขึ้นกับคนธรรมดาทั่วไป มักจะตัดสินคนที่มีลักษณะนี้ว่ามีอาการผิดปกติทางจิต ซึ่งความคิดเหล่านี้ถูกครอบงำจากวัฒนธรรม หรือบรรทัดฐานของสังคมในยุคก่อนนั้น สืบทอดกันมาเป็นรุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็นการเลือกปฏิบัติ และกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศมักถูกตีตราจากสังคม ไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียม

ปัจจุบันมีงานวิจัยต่างๆ ออกมารองรับ ทางการแพทย์ว่าบุคคลกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เขาไม่ได้เป็นโรคหรือมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ แต่อย่างใด แต่ความหลากหลายทางเพศนั้นเกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบหลายๆ ส่วน ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมน สารเคมีในสมอง หรือการอบรมเลี้ยงดู วัฒนธรรมและพื้นฐานทางสังคมที่ขัดเกลาบุคคลเหล่านี้ จึงไม่ใช่ความผิดปกติแบบที่เข้าใจกันมาโดยตลอด

LGBTQ บทบาทตัวตลกที่ถูกยัดเยียด

LGBTQ บทบาทตัวตลกที่ถูกยัดเยียด
Marchers in the 2013 Twin Cities Pride parade carry rainbow flags as spectators watch along Hennepin Avenue in Minneapolis, Minnesota.

ตั้งแต่อดีต เป็นเรื่องปกติมากที่เรามักจะได้เห็นกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศ ถูกล้อเลียนอยู่บ่อยๆ ทั้งการเป็นมุขตลกล้อเลียน รายการทีวี ละคร ภาพยนตร์ แน่นอนว่ามันดูตลกหากเป็นคนปกติ แต่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศคงไม่ตลกแน่ เพราะการกระทำเหล่านั้นที่แสดงพฤติกรรมในเชิงเหยียด ล้อเลียน และยัดเยียดให้พวกเขากลายเป็นตัวตลกโดยไม่มีสิทธิ์เลือก พร้อมให้เหตุผลว่า ใครๆ ก็ทำกัน เพราะเป็นเรื่องปกติ แต่มันกลับไม่ปกติเลย

แม้ปัจจุบันกลุ่ม LGBTQ จะถูกยอมรับจากสังคมมากขึ้น แต่ก็ยังคงเห็นตามสื่อโซเชี่ยลกับการเหยียดสารพัด ที่ดูเหมือนจะเป็นภาพที่คุ้นชิน เพราะยังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่ยอมรับกับเงื่อนไขและเพศสภาพของพวกเขา และมักจะใช้คำว่า เบี่ยงเบนทางเพศ และยังถูกบ่มเพาะกับอคตินี้ กับคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย จากกลุ่มคนรุ่นหลังหรือที่เรียกว่า ผู้ใหญ่ ยังมีมุมมองภาพจำแบบเดิมๆ กับความหัวโบราณและไม่เปิดรับสิ่งใหม่ที่ถูกต้อง

เพราะแตกต่างจึงถูกล้อเลียน

หลายครั้งที่เราได้เห็น LGBTQ ถูกล้อเลียน ด้อยค่า จนรู้สึกผิดแผก และใช้เหตุผลในความตลก เพื่อช่วยลดทอนความก้าวร้าวของสิ่งที่ทำลงไป เช่น การเหยียดด้วยคำพูดหรือการกระทำ แล้วลงท้ายด้วยคำว่า แซวเล่น ล้อเล่น เป็นต้น

สื่อนำเสนอ LGBTQ เพียงด้านเดียว

เรามักเห็นบทบาทของ LGBTQ ที่มีบุคคลดูอ่อนไหวง่าย หรือมีความรุนแรง กล้าแสดงออก รวมไปถึงตัวโจ๊ก ตัวตลก ขายขำ เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วพวกเขามีดีกว่านั้น เขาสามารถเป็นตัวเอก หรือคนสำคัญของเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้เหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป

สังคมคือชนวนแห่งเกิดการเหยียดล้อเลียนทางเพศ

สังคมคือชนวนแห่งเกิดการเหยียดล้อเลียนทางเพศ

ต้องยอมรับว่าสังคมไทยนั้น กลุ่ม LGBTQ กลายเป็นเหมือนความบันเทิง ตั้งแต่ตลกคาเฟ่ ที่โรงเรียน โลกออนไลน์ โดยรับบทเป็นตัวตลกในสายตาคนอื่นๆ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงพวกเขาไม่ได้ต้องการบทบาทนี้ แต่กลับถูกยัดเยียดมาโดยตลอดเพราะความที่มันขายได้ และมองว่า ใครๆ ก็คงคิดแบบเดียวกัน หรือในสังคมโรงเรียน สื่อออนไลน์ ที่เหล่าผู้ปกครองก็มอง LGBTQ ในด้านลบ มองว่าการรักเพศเดียวกันเป็นความวิตกกังวลใจของคนเป็นพ่อแม่

ตราบใดที่สังคมยังคงมีการเหยียดและล้อเลียนพวกเขาซ้ำไปซ้ำมา จะเป็นการผลักดันให้สังคมมองเห็นและซึบซับ Hate Speech กับกลุ่ม LGBTQ มากยิ่งไปอีก จนนำไปสู่การเลือกปฏิบัติกับพวกเขาอย่างไม่รู้จบสิ้น และการรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศก็คงไม่เป็นผล ปัญหาการล้อเลียน เหยียดเสียดสีสังคมก็ยากที่จะทำให้ดีขึ้น และคงไม่หมดไปอย่างง่ายๆ หากทุกคนไม่ได้ร่วมมือและสนับสนุนพวกเขาเหล่านั้น

LGBTQ เพศทางเลือก รสนิยม สิทธิ ที่สังคมควรให้ความเคารพสนับสนุนอย่างเท่าเทียม Read More »