" />

OTP ระบบ ป้องกัน ปลอดภัย รหัสที่ห้ามบอกใครถ้าไม่อยากถูกแฮ็กข้อมูล

OTP ระบบ ป้องกัน ปลอดภัย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันนี้การทำธุรกรรมออนไลน์นั้นง่ายมาก เพียงกดผ่านหน้าจอไม่กี่ขั้นตอน จะโอนเงิน จ่ายเงิน ฝากหรือถอนเพิ่ม ซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ ก็ทำได้เพียงคลิกเดียว ประหยัดเวลาและปลอดภัยสูง และทุกครั้งจะมี OTP ที่เป็นรหัสส่งมาสู่ผู้ใช้งานให้ยืนยันการทำธุรกรรมต่างๆ ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งรหัสต้องนี้ห้ามบอกใครเด็ดขาด เพราะผู้ไม่หวังดีสามารนำเลขดังกล่าวใช้โจรกรรมข้อมูลส่วนตัว จะดูดเงินในบัญชีก็ยังได้

รหัส OTP คืออะไร สำคัญมากน้อยแค่ไหน

สำหรับ OTP (One Time Password) เป็นชุดรหัสผ่านที่ไว้ใช้งานครั้งเดียว มีตัวเลขสุ่มประมาณ 4-6 หลัก ใช้เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ประเภทต่างๆ โดยตัวเลขจะส่งมายังอีเมล SMS หรือตามกล่องข้อความของแพลตฟอร์มการใช้งานที่ระบุไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำรหัส OTP มายืนยันตัวตนในการทำธุรกรรม ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการยืนยันการทำรายการ

ตัวเลข One Time Password นี้มีความสำคัญมาก เพราะหากในการทำธุรกรรมใดๆ ถ้าผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชีทราบตัวเลขเหล่านี้อาจขโมยข้อมูลส่วนตัว เงินสด บัตรเครดิต หรืออื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงมีมิจฉาชีพที่แฝงรอยตามสื่อโซเชี่ยลมีเดีย แสร้งเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารขอเลข OTP จากเจ้าของผู้ใช้บัญชีและนำรหัสไปซื้อสินค้าหรือถอนเงินออกมาจนเกิดความเดือดร้อนเสียหาย

otp คืออะไร

วิธีสวมรอยเพื่อหลอกล่อขอรหัส OTP ของมิจฉาชีพ

  1. สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อขอรหัส โดยจะแสร้งโทรหาถามหมายเลข OTP พร้อมสร้างสถานการณ์บีบบังคับให้รู้สึกกลัว
  2. ส่งลิงก์เว็บไซต์มาให้ใส่รหัส หากพบเห็นลิงก์ข้อความสแปม แปลกๆ ตามสื่อต่างๆ ห้ามกดโดยเด็ดขาด เพราะอาจล่อลวงให้กรอกรหัสได้
  3. เจาะระบบแฮ็ก Device ของผู้ใช้ ลักษณะจะปล่อย Spyware เข้าเครื่องผู้ใช้ จากการที่เจ้าตัวไปกดลิงก์สแปมแปลกปลอมและอันตราย

เรื่องของรหัส OTP ที่คุณอาจยังไม่รู้

เชื่อว่าในยุคนี้ยังมีผู้ใช้งานหลายๆ คนไม่เข้าใจว่ารหัส OTP ทำงานอย่างไร ทำไมต้องขอ ส่งมาเนื่องจากอะไรบ้าง หมดอายุภายในกี่วัน สามารถขอรหัสใหม่ได้หรือไม่ คำถามต่างๆ นานๆ มากมาย ที่ผู้ใช้งานมีเดียออนไลน์สมัยใหม่ขาดทักษะความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จนสุดท้ายอาจผิดพลาดและเสียรู้ให้เหล่ามิจฉาชีพที่จ้องหากินกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับความสำคัญของ OTP เพื่อรับมือกับการใช้งานและป้องกันการถูกหลอกจากมิจฉาชีพ มีเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ ดังนี้

รหัส OTP ส่งมาจากการใช้งานอะไรบ้าง

  • ส่งเมื่อมีคำสั่งการซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต
  • ส่งเมื่อมีคำสั่งการเข้า Internet Banking หรือ Mobile Banking
  • ส่งเมื่อมีคำสั่งการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ

ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ OTP

  • ส่วนใหญ่รหัส OTP จะผูกกับเบอร์โทรศัพท์มือถือส่วนตัวของผู้ใช้งาน
  • รหัสจะส่งเข้า SMS ของเบอร์มือถือผู้ใช้เป็นหลัก
  • รหัสจะมีตัวเลขประมาณ 4-6 หลัก และ 1 ชุดตัวเลข ใช้ได้เพียงครั้งเดียว
  • รหัสจะสามารถใช้งานได้ภายใน 3-5 นาที เท่านั้น
  • เมื่อครบระยะเวลาการใช้งานรหัสจะทำการสุ่มใหม่ทุกครั้ง

แนวทางป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์

สำหรับการใช้งานรหัส One Time Password ให้ปลอดภัย เมื่อมีลิงก์แนบมายังกล่องข้อความ SMS เช่น ให้กรอก OTP 6 หลัก แบบนี้อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด เพราะอาจเป็นลิงก์อันตรายไปสู่การโจรกรรมข้อมูลผู้ใช้งาน ให้หลีกเลี่ยงไปเลยดีที่สุด หรือเหตุการณ์ที่มีบุคคลโทรติดต่อมาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หากไม่มั่นใจว่าได้ทำธุรกรรมอะไรไว้หรือไม่ ให้ปฏิเสธทุกกรณี หากต้องการทำธุรกรรมให้แจ้งว่าขอดำเนินการที่สาขาธนาคารเท่านั้น

แนวทางป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเหล่ามิจฉาชีพที่ใช้ช่องโหว่ของรหัส OTP นั้นไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งสำคัญอยู่ที่ผู้ใช้งานต้องไม่ระบุตัวเลขใดๆ ให้เด็ดขาด ไม่ทำตามคำขอและไม่คล้อยตาม หากไม่มั่นใจว่าเป็นการติดต่อจากเจ้าหน้าที่จริงๆ หรือไม่ ให้แจ้งขอดำเนินการที่สำนักงานเท่านั้นตามที่ได้ระบุไว้เพื่อความปลอดภัยก่อน และรีบติดต่อเจ้าหน้าที่จริงเพื่อดำเนินการเปลี่ยนรหัสผ่านการใช้งานหรืออายัดข้อมูลไม่ให้มิจฉาชีพใช้อีกได้

ป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์

เทคโนโลยีความปลอดภัยต้องคู่กับการใช้งานอย่างรู้เท่าทันด้วย

การใช้งานรหัส OTP เป็นระบบการรักษาความปลอดภัยรูปแบบออนไลน์ที่ให้ความปลอดภัยสูง อำนวยความสะดวก และเป็นตัวกลางในการเข้าถึงเว็บคาสิโนเชื่อถือได้ที่ใช้งานได้ดีและเป็นสากลใช้กันปกติทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามเหล่ามิจฉาชีพมักจะหาช่องโหว่เพื่อโจรกรรมได้เสมอ ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงไม่ควรมองข้ามความปลอดภัยเด็ดขาด แม้ตัวระบบการใช้งานจะออกแบบมาให้ปลอดภัย แต่หากใช้อย่างประมาทก็ไม่ต่างอะไรกับการเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพเข้ามาได้

เทคโนโลยีความปลอดภัย

นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีการป้องกันการเข้าถึง ความปลอดภัยต่างๆ ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันหลากหลายชนิด ตัวอย่างเช่น Authenticator ที่เป็นตัวสุ่มรหัสอย่างโปร่งใส ปราศจากตัวกลางในการ Generate ชุดตัวเลขสำหรับเข้าถึงการใช้งานร่วมกับแอพฯ ต่างๆ เทคโนโลยีนี้ก็มีความปลอดภัยไม่แพ้กัน แต่ก็แน่นอนว่าเหล่ามิจฉาชีพยังสามารถหาช่องโหว่จากมันได้อยู่ดี ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ควรใช้งานอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน และไม่หลงเชื่อกับผู้ที่ไม่ทราบที่มาที่ไปที่ชัดเจน

แชร์เนื้อหานี้
Tags