" />

Work Life Balance สมดุลชีวิต การทำงาน สร้างได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรมตัวคุณเอง

Work Life Balance สมดุลชีวิต การทำงาน

ยุคก่อนมีค่านิยมที่เด่นชัดว่า การทำงานยิ่งหนักจะยิ่งดี การทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานแบบสุดโต่ง ไม่รู้วันเวลา แลกทุกอย่างเพื่อทำงานให้กับองค์กรอย่างไม่ลืมหูลืมตา จะทำให้คนๆ นั้นยิ่งประสบความสำเร็จ ซึ่งก็เป็นจริงแต่ท้ายที่สุดแล้วชีวิตส่วนตัวกลับล้มเหลวและสูญหายไปอย่างไม่อาจเอากลับมาได้ ยังไม่รวมถึงสุขภาพที่ย่ำแย่ที่มีเงินเท่าไรก็ซื้อคืนมาไม่ได้ ดังนั้นจึงมีแนวคิดยุคใหม่อย่าง Work Life Balance ในการปรับสมดุลการทำงานและใช้ชีวิตให้บาลานซ์กัน

Work Life Balance คืออะไร

Work Life Balance คืออะไร

สำหรับ Work Life Balance เป็นแนวคิดในการปรับสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการทำงานที่หนักมากจนเกินไป ถือเป็นแนวคิดที่ให้ประโยชน์แก่การทำงานของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ทั้งผู้ที่ทำงานประจำและผู้ทำอาชีพอิสระฟรีแลนซ์ และอื่นๆ ครอบคลุมได้ทุกลักษณะของการทำงาน เพราะงานที่หนักจะไม่มีเวลาเหลือในการใช้ชีวิตจะเป็นตัวบ่อนทำลายทั้งสุขภาพกายและใจในระยะยาว

แน่นอนว่าความสอดคล้องกันของชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตที่บ้านที่ดีตาม Work Life Balance จะต้องไม่มีข้อขัดแย้งกัน ทั้งสองอย่างจะต้องไม่เบียนเบียนเวลาซึ่งกันและกัน การทำงานจะต้องเพียงพอและเหมาะสม การใช้ชีวิตก็ต้องเพียงพอไม่มากเกินไปจนไม่ได้ทำงาน แต่ก็ต้องไม่น้อยเกินจนไม่มีเวลาพักผ่อน ในขณะเดียวกันจะต้องมีเวลาให้กับครอบครัว และส่วนหน้าที่การงานก็ต้องทำตามที่ได้รับมอบหมายให้งานออกมาดีที่สุดด้วย

วิธีสร้าง Work Life Balance

  1. กำหนดเป้าหมายในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ละวัน ให้ตั้งเป้าหมายจัดรลำดับการทำงานให้ดีเพื่อให้เป็นระเบียบมากขึ้น
  2. เคารพเวลาพักผ่อน เมื่อถึงเวลาพักต้องหยุดคิดถึงเรื่องงาน ใช้เวลาพักผ่อนเป็นรางวัลให้กับความที่อดทนตั้งใจทำงานในแต่ละวัน
  3. รู้จักปฏิเสธ ต่อรองเพื่อให้จดจ่อกับงานของตนเองที่ได้มอบหมายอย่างมีคุณภาพมากที่สุด
  4. ใช้เวลากับคนรอบข้างและแบ่งเวลาให้ครอบครัว ไม่ละเลยคนที่ต้องให้ความสำคัญอยู่เสมอ
  5. ใส่ใจตนเอง ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่ชอบ

สูตรการใช้ชีวิตแบบ 8:8:8

สูตรการใช้ชีวิตแบบ 8:8:8

แน่นอนว่าคนเรามีเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากันในแต่ละวัน แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้การบริหารเวลาทุกๆ วันเป็นไปอย่างคุ้มค่ามากที่สุด มีสูตรง่ายๆ เพียงแบ่งเวลาออกเป็น 8-8-8 หรือ 3 ส่วน ส่วนละ 8 ชั่วโมง นี่เป็นสูตรสร้างสมดุลให้กับเวลาชีวิตที่แบ่งได้อย่างเหมาะสมที่สุดเลยก็ว่าได้ และยังเป็นสูตรคลาสสิคที่มีมากว่าร้อยปีแล้ว จาก โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) นักเศเศรษฐศาสตร์ปฏิรูปสังคมชาวอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1810

โรเบิร์ต โอเวน ได้กล่าวประโยคหนึ่งที่ให้อิทธิพลในการดำเนินชีวิตแบบมีคุณภาพว่า “Eight hours labour, Eight hours recreation, Eight hours rest หรือ การทำงาน 8 ชั่วโมง, การสันทนาการ 8 ชั่วโมง และการพักผ่อน 8 ชั่วโมง ซึ่งได้ถูกใช้เป็นมาตรฐานในการสร้างสมดุลให้กับการใช้ชีวิต ตลอดจนแบ่งเวลาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • 8 ชั่วโมง เพื่อการการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • 8 ชั่วโมง เพื่อการการผ่อนคลายและสันทนาการ
  • 8 ชั่วโมง เพื่อการนอนหลับพักผ่อนร่างกาย

เคล็ดลับกับการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน

สมดุลชีวิตการทำงาน

อย่างไรก็ตาม การสร้างสมดุลให้กับชีวิตไปพร้อมๆ กับการทำงานนั้นไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อตัวคุณเองเพียงด้านเดียว แต่ยังให้ประโยชน์ต่อองค์กร รวมไปถึงบุคลากรอื่นๆ ภายในองค์กรด้วย ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ เนื่องจากการที่พนักงานอย่างคุณมี Work Life Balance ที่ดี ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย นั่นหมายถึงการแสดงออกต่างๆ และการทำงานของคุณจะมีประสิทธิภาพโดยเป็นไปตามธรรมชาติที่คุณไม่ต้องฝืน

เคล็ดลับในการสร้างสมดุลที่ดีของคุณ มีแนวทางที่เปลี่ยนได้เริ่มจากตัวคุณเอง ตามแบบฉบับ Work Life Balance ที่คุณต้องปฏิบัติตามให้ได้ สำคัญคือความยืดหยุ่น และปรับสมดุลให้เหมาะสมกับนิสัยของตัวคุณเอง เราได้ลิสต์หัวข้อที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้บาลานซ์ ดังนี้

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้บาลานซ์

  • แบ่งเวลางานและเวลาพักผ่อนให้ชัดเจน
  • พยายามอย่าเอางานกลับมาทำที่บ้าน
  • หาเวลาออกไปท่องเที่ยวบ้าง
  • พบปะเพื่อนฝูง ทำกิจกรรมกับคนในครอบครัว
  • หางานอดิเรกทำในยามว่าง
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่ามองข้ามประเด็นด้านสุขภาพจิตด้วย

สุขภาพจิตกับการทำงาน

สุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายบริษัทมักมองข้ามกับปัญหาด้านสุขภาพจิตของบุคลากร หลายครั้งที่พนักงานทำงานออกมาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดจากการสั่งสมของปัญหาและความ Toxic ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงาน บั่นทอนจิตใจของพนักงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว บางรายที่ทนรับความกดดัน ความเครียดต่างๆ ไม่ไหวก็พากันลาออกเปลี่ยนงานใหม่ ส่วนพนักงานที่ยังคงอยู่ก็ต้องจำใจทนอยู่กับบรรยากาศและการทำงานที่เป็นมลพิษทางจิตใจ

บริษัทควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของบุคลากร ให้ความสำคัญกับทุกคนในการทำงาน แบ่งหน้าที่งานที่เหมาะสม จัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพรอบด้าน รวมไปถึงการมีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อละลายพฤติกรรมและความขัดแย้งของคนในการทำงานร่วมกัน อีกทั้งในส่วนของการกระจายการทำงานที่ไม่ควรจะอัดอยู่กับบุคคลใดหรือฝ่ายใดมากจนทำให้พวกเขาต้องรู้สึกว่า “Work Life ไม่บาลานซ์”

แชร์เนื้อหานี้
Tags