" />

ลองโควิด อาการป่วย ระยะยาว โรคเรื้อรัง ที่เจ็บแต่ไม่ยอมจบ

ลองโควิด อาการป่วย ระยะยาว โรคเรื้อรัง

แม้ว่าคุณจะเพิ่งหายจากอาการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 แต่ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะยังมีอาการแทรกซ้อน ผลข้างเคียง หรือภาวะที่เรียกว่า ลองโควิด เป็นอาการที่ร่างกายได้รับผลกระทบในระยะยาวหลังจากติดเชื้อ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว อาการ Long Covid นี้จะเป็นอย่างไร มีอันตรายรุนแรงมากน้อยแค่ไหน หาคำตอบได้ที่นี่

Long COVID คืออะไร

Long COVID คืออะไร

Long COVID เป็น อาการทางร่างกาย รวมไปถึงอาการทางจิตใจ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ภายหลังที่หายจากการติดเชื้อ โควิด-19 มักจะเป็นผลกระทบทางตรงอันเกิดจากร่องรอยของโรค หรือบางผู้ป่วยก็เป็นผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากช่วงที่เคยติดเชื้อได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จึงมีลักษณะของอาการคล้ายกันหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาการในช่วงที่ยังติดเชื้ออยู่

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงระหว่างการติดเชื้อโควิด เมื่อรักษาจนหายป่วยอาการดีขึ้น ส่วนใหญ่มักพบว่าจะมีอาการ ลองโควิด เกิดขึ้นในระยะเวลาต่อมาในอาการที่รุนแรงกว่าผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเชื้อไวรัสที่เข้าไปทำลายระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันเกิดภาวะบกพร่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในระยะยาวอีกด้วย

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสูง

  1. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  2. กลุ่มผู้สูงอายุ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  3. ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  4. ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ลองโควิด มีอาการอย่างไร

ลองโควิด มีอาการอย่างไร

สำหรับภาวะอาการ ลองโควิด ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ ถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการที่พบมีหลายอาการแตกต่างกัน ซึ่งมีตั้งแต่ความรุนแรงต่ำ สูง ไปจนถึงขั้นร่างกายทรุดโทรม ทั้งยังส่งผลในระยะยาวตั้งแต่หลายสัปดาห์ บางรายอาจเป็นหลายเดือน แต่ในผู้ป่วยบางรายกลับไม่มีอาการลองโควิดก็ได้เช่นกัน

ในส่วนของอาการผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ได้แก่ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย สมาธิสั้น ปวดศีรษะ ผมร่วง หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก การรับรสชาติและกลิ่นเปลี่ยนไป อาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ ปวดเมื่อยตามข้อ ไอ เสมหะ ท้องร่วง กล้ามเนื้ออ่อนแรง สมองล้า นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า วิตกกังวล โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนหลังหายจากการติดเชื้อ

รู้หรือไม่ว่า นอกจากอาการผลข้างเคียงของ Long Covid ทางกายภายแล้ว ยังสามารถส่งผลต่อสภาพจิตใจได้อีกด้วย โดยจากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยหลังจากหายและปลอดเชื้อโควิดแล้ว มักมีอาการวิตกกังวล ความเครียดสะสม รู้สึกเศร้า หวาดกลัว หวาดระแวงง่าย เกิดขึ้นจากสภาวะด้านจิตใจในช่วงรักษาอาการที่เครียดวิตกกังวลมากเกินไปนั่นเอง สามารถหายได้เพียงใช้เวลาในการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจผู้ป่วย

ลองโคโรน่าไวรัสมีสาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร

ลองโคโรน่าไวรัสมีสาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร

เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ถือเป็นโรคร้ายที่ส่งผลกระทบกับผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว โดยหลังจากการรักษาหายแล้วแต่ผู้ป่วยหลายๆ รายมักมีความรู้สึกว่าเหมือนยังไม่หายดี เพราะในระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันในการไปจับกับเซลล์โปรตีนในบางอวัยวะ จนทำให้เกิดอาการอักเสบในร่างกาย ทำให้อวัยวะส่วนนั้นๆ ได้รับความเสียหาย และส่งผลเสียที่ฟื้นฟูได้ยาก

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เช่น อาการปอดบวด เนื้อปอดถูกทำลาย ในผู้ป่วยที่เชื้อไวรัสลงสู่ปอด ทำให้ระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งระดับความรุนแรงดังกล่าวนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการรักษาระหว่างเกิดอาการป่วยติดเชื้อ และการกำจัดเชื้อในร่างกาย ซึ่งเรียกว่า โควิดระยะยาว หรือ ลองโควิด นั่นเอง ซึ่งผู้ป่วยกว่า 30-50% เกิดขึ้นจากความเครียดสะสม ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือผู้ที่ติดโควิดซ้ำต่างสายพันธุ์

แนวทางการรักษาภาวะโควิดระยะยาว

แนวทางการรักษาภาวะโควิดระยะยาว

ภายหลังจากหายป่วยจากการติดเชื้อแล้ว ให้หมั่นสังเกตอาการที่ผิดปกติ อาทิ มีไข้ ไอเรื้อรัง เหนื่อยง่าย หรือหากมีอาการเป็นเวลานานแล้วยังไม่หายดีควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและการรักษาเพิ่มเติม เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาการหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดได้ หากเป็นผู้ป่วยเชื้อลงปอด ได้รับออกซิเจนเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องรับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือพบว่าภายหลังจากหายติดเชื้อกลับมาโรคประจำตัวใหม่เกิดขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง และผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือฉีดไม่ครบโดส จะต้องรับการฉีดวัคซีนภายใน 1-3 เดือน สำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่เพิ่งหาย แนะนำว่าไม่ควรออกกำลังกายหนักและมากจนเกินไป ให้ออกกำลังกายเบา เช่น เดินเร็ว เพื่อไม่ให้ปิดทำงานหนักและค่อยฟื้นฟูจนกลับสู่สภาวะปกติ

อย่างไรก็ตามหากภายหลังจากการติดเชื้อแล้ว แนะนำว่าควรสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการอ่อนเพลีย ฟื้นตัวได้ไม่เท่าเดิม แนะนำว่าให้ลองไปตรวจสุขภาพ และตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของไตและตับ หรือเอ็กซเรย์ปอด เพื่อให้เข้ารับการรักษาได้อย่างถูกต้องและฟื้นตัวได้ในระยะเวลารวดเร็ว

แชร์เนื้อหานี้
Tags