" />

วงจรการนอนหลับ REM Sleep หลับลึก สุขภาพดี

นอนหลับ หลับลึก สุขภาพดี มีประโยชน์

การนอนหลับ ไม่ใช่เพียงแค่กิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เท่านั้น แต่เพื่อเป็นการพักผ่อนจากการเหนื่อยล้าในการทำกิจกรรมต่างๆ มาตลอดวัน เพื่อสร้างพลังงานให้กลับคืนสู่ร่างกายและสมอง พร้อมลุยในวันถัดไป หลายๆ คนอาจคิดว่าเพียงแค่นอนท่าสบายๆ และหลับตาก็เพียงพอในการฟื้นฟูเรี่ยวแรงได้แล้ว แต่อาจไม่ใช่เสมอไป เราสามารถทราบได้อย่างไรว่าประสิทธิภาพการนอนของเราดีเพียงพอในการฟื้นตัวแล้วจริงๆ ดังนั้นจึงพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ วงจรการนอนหลับ REM Sleep ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก พร้อมทริคเล็กน้อยในการนอนหลับให้ดีต่อสุขภาพ

วงจรการนอนหลับแบบ REM & NREM

ก่อนอื่นใดต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หลายๆ ท่านมักจะคิดว่าการนอนอาจไม่ต้องยุ่งยาก คงไม่มีวิธีและหลักการนอนอะไรให้ซับซ้อน แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะการนอนหลับของมนุษย์มีรายละเอียดอยู่เหมือนกัน จริงอยู่ที่การนอนหลับแบบธรรมดาๆ อาจจะทำให้หายเหนื่อยได้ ร่างกายได้พักผ่อนจริง แต่หากนอนอย่างถูกหลักถูกต้องแล้วจะช่วยให้ระบบร่างกายภายในได้พักผ่อนแบบมีประสิทธิภาพที่แท้จริง

การนอนหลับที่ถูกหลักการสากลอย่างหนึ่งที่ผ่านการวิจัยมาแล้ว มีการแบ่งการหลับของเราออกเป็น 2 พาร์ท ด้วยกัน ได้แก่

  1. ช่วง Non Rapid Eye Movement Sleep (NREM Sleep)
  2. ช่วง Rapid Eye Movement Sleep (REM Sleep)

โดยที่ NREM จะเป็นช่วงของการหลับปกติ จะแบ่งเป็น 4 ระยะ แต่ละระยะจะส่งผลกับร่างกายที่ต่างกัน และช่วง REM จะเป็นช่วงการหลับฝันที่เกิดจากการผ่านช่วง NREM มาแล้วอีกทีหนึ่ง

NREM Sleep

  1. ระยะ 1 เป็นช่วงกึ่งหลับกึ่งตื่น มักเกิดขึ้นขณะหลับในเวลาสั้นๆ และสมองจะเริ่มทำงานช้าลง หากถูกปลุกให้ตื่นในระยะนี้จะไม่ค่อยงัวเงีย ซึ่งไม่ได้ส่งผลอะไรต่อร่างกายมากเท่าไรนัก
  2. ระยะ 2 เป็นช่วงเคลิ้มหลับ ระหว่างกึ่งหลับกึ่งตื่นและช่วงที่หลับลึก ทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง หัวใจเต้นช้าลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความจำระยะสั้น ช่วยเพิ่มสมาธิได้
  3. ระยะ 3-4 เป็นการหลับลึก ร่างกายจะเริ่มไม่ค่อยตอบสนองกับสิ่งเร้าภายนอก หากถูกปลุกจะงัวเงียเป็นภาวะที่พักผ่อนมากที่สุดและหลั่ง Growth Hormone ออกมา

REM Sleep

สำหรับช่วงของ REM Sleep หรือที่เรียกว่าช่วงหลับฝัน จะเกิดขึ้นเมื่อการนอนผ่านช่วงทั้ง 4 ของ NREM Sleep มาแล้ว โดยจะส่งผลกับร่างกายและสมอง ดังนี้

  • การเคลื่อนไหวของดวงตาที่รวดเร็ว
  • มีการหายใจถี่กว่าปกติ
  • อัตราการเต้นของหัวใจใกล้เคียงกับเวลาที่ตื่นนอน
  • อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง
  • ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
  • การทำงานของสมองคล้ายกับช่วงตื่นนอน
  • สมองจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น
  • ใบหน้ามีการกระตุก รวมถึงแขนและขา
การนอนหลับ

REM Sleep ดีอย่างไร

แน่นอนว่าการหลับในช่วง REM ส่งผลหลายๆ อย่างต่อสมองและร่างกาย มีส่วนช่วยเพิ่มการเรียนรู้ ความจำ และอารมณ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้การพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิดดียิ่งขึ้น หากขาดการนอนหลับลึกที่มากพอแบบ REM แน่นอนว่าต้องส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและอารมณ์ ดังนั้น นอนหลับให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องที่มนุษย์เราต้องให้ความสำคัญและขาดการพักผ่อนไม่ได้

จากการวิจัยพบว่า การที่ไม่ให้ร่างกายได้นอนหลับให้เข้าสู่ช่วง REM จะเกิดปัญหาด้านการจดจำ การเรียนรู้ และมีการศึกษาโดยใช้หนูทดลอง พบว่าการอดนอนลึกแบบ REM เป็นเวลา 4 วัน จะส่งผลเพิ่มจำนวนเซลล์ภายในสมองในระยะยาว ทำให้มีปัญหาการจดจำเรื้อรัง และการวิจัยบางส่วนยังพบว่าการนอนหลับ REM ช่วยให้พัฒนาการสมองเด็กเล็กที่ดีมาก ช่วยกระตุ้นระบบประสาทที่จำเป็นในการเติบโต

REM Sleep ดีอย่างไร

อาการผิดปกติในระยะการหลับ REM

เมื่อเข้าใจดีถึงความสำคัญในการนอนหลับแบบ REM กันแล้วว่ามีประโยชน์อย่างมากกับร่างกาย แต่ในบางครั้งหลายท่านมักจะเคยประสบกับปัญหาความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็น การนอนละเมอ การนอนกัดฟัน อาการผีอำ หรือที่เรียกว่า Sleep Palalysis และยังรวมไปถึงการละเมอเตะแข้งเตะขา ซึ่งอาการเหล่านี้ทางหลักการจะเรียกว่า REM Sleep Behavior Disorder เป็นอาการผิดปกติขณะหลับในระยะ REM

สำหรับอาการผิดปกติของ REM Sleep Behavior Disorder เกิดจากการที่กล้ามเนื้อภายในร่างกายจากการปกติเมื่อนอนหลับนั้นเกิดอาการที่ไม่สามารถขยับได้ หรือเป็นภาวะที่เข้าสู่ช่วงอัมพาตชั่วคราว แต่ไม่เป็นแบบในรูปแบบนั้นเพราะสมองได้สั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวขณะหลับ เป็นไปตามความฝันของเราที่กำลังหลับฝันในตอนนั้น ซึ่งอาจส่งผลอันตรายกับคนรอบข้างได้ ซึ่งผู้มีความเสี่ยงกับปัญหานี้ ได้แก่

อาการผิดปกติขณะหลับมักเกิดขึ้นกับใคร

  • ส่วนใหญ่มักเกิดกับ เพศชาย
  • เกิดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ใช้ยาบางชนิด และยาซึมเศร้าบางประเภท
  • ผู้ที่เพิ่งเลิกยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบประสาท เช่น โรคพาร์คินสัน โรคสมองเสื่อม
  • ผู้ที่มีอาการง่วงนอน โรคการนอนหลับกลางวันและเห็นภาพหลอน
อาการผิดปกติในระยะการหลับ REM

ต้องนอนหลับอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ

มาถึงตรงนี้แล้วเราคงเข้าใจได้ว่า การพักผ่อนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และการนอนหลับไม่ว่าจะทั้งแบบ REM หรือ NREM นั้นก็ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราทั้งทั้งหมด แต่เป็นไปได้ เว็บคาสิโนเชื่อถือได้แนะนำว่าควรให้เวลากับการนอนหลับพักผ่อนให้อยู่ในช่วง REM อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการนอนหลับลึกที่แท้จริง ที่ไม่ใช่เพียงการหลับจากภายนอกแบบช่วง NREM เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การเข้าใจหลักการนอนหลับลึกทั้งสองรูปแบบดังกล่าวนี้แล้วคงไม่พอ เพราะจำเป็นต้องอาศัยแนวทางที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นด้วย นั่นคือการเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดเวลานอนที่ชัดเจน จะช่วยให้ร่างกายจดจำเวลาง่วงนอนได้มากขึ้น การลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะดุ้งตื่นกลางดึก เช่น ปิดไฟในห้องนอน ปรับอุณหภูมิ หรือปิดเสียงโทรศัพท์ และสุดท้ายควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ร่างกายหลับได้ไม่ลึก

แชร์เนื้อหานี้
Tags